วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีแห่นางแมว


 ประเพณีแห่นางแมว

          เมื่อให้นึกถึงประเพณีที่มีสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง มีมาช้านานและเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศคงเป็นประเพณีอื่นไปไม่ได้นอกจากประเพณีแห่นางแมว ที่นิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการหรือฝนแล้ง เพื่ออ้อนวอนขอให้ฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นแก่แผ่นดินและพื้นที่ทำสวนทำไร่ของทุกคน

  

แหล่งที่มารูปภาพ : https://sites.google.com/site/photcharapon44499/

prapheni-thiy-phakh-xisan/prapheni-hae-nang-maew

ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมว

         เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม การทำเลือกสวนนาไร่จำเป็นต้องอาศัยน้ำจำนวนมาก ดังนั้นหากวันหนึ่งฝนที่เคยตกต้องตามฤดูกาลไม่ตกเช่นเคยย่อมสร้างความเดือนร้อนให้กับชาวนาชาวไร่ทั่วไปเพราะฉะนั้นเพื่อให้ฝนตกลงมาจะได้มีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตรกรรมจึงต้องทำพิธี “แห่นางแมว” ขึ้น สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมวนั้น คนไทยมีความเชื่อว่าฝนตกลงมาเพราะเทวดา เมื่อฝนไม่ตกจึงต้องทำพิธีขอฝนกับเทวดา แต่บางความเชื่อกล่าวว่าเมื่อแผ่นดินแห้งแล้ง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีควันและละอองเขม่าควันจะต้องขอน้ำจากเทวดามาช่วยล้างเพราะน้ำฝนเป็นน้ำของเทวดา เนื่องจาก เทโว แปลว่า ฝน นั่นเอง  ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับแมวนั้น คนไทยเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนำมาทำพิธีแล้วจะช่วยเรียกฝนให้ตกลงมาได้ หรือถ้าเป็นความเชื่อของชาวอีสานจะมีความเชื่อว่าเมื่อฝนไม่ตกให้ใช้สัตว์ที่มีสีเดียวกับเมฆเรียกฝน จะทำให้ฝนตกลงมาได้เช่นกันและสัตว์ประเภทเดียวที่มีสีเมฆคือ แมวสีสวาท

การทำพิธีแห่นางแมว                                                                                                                           

          ช่วงเวลาในการทำพิธีแห่นางแมวนั้นจะจัดขึ้นเมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลและมีความแห้งแล้งมากจริง ๆ ซึ่งการทำพิธีนั้นต้องมีขบวนแห่ ผู้หญิงที่เข้าร่วมพิธีแห่ต้องผัดหน้าขาว ทัดดอกไม้ดอกโต ๆ ร่วมกันร้องรำทำเพลงที่สนุกสนานเฮฮา

สิ่งที่ต้องมีในพิธีแห่นางแมว                                                                                          

               1. แมวสีสวาทหรือแมวสีด                                                                                         

          2. กระบุง กะทอหรือเข่งที่มีฝาปิด

          3. ดอกไม้ 5 คู่

          4. เทียว 5 คู่

          5. ไม้ สำหรับหาม                     

วิธีการแห่นางแมว

          การแห่นางแมวนั้นจะให้คนในหมู่บ้านมารวมตัวกัน แต่งตัวสวยงาม เมื่อได้เวลาพลบค่ำก็เริ่มขบวนแห่ โดยก่อนการแห่ต้องให้ผู้เฒ่าพูดกับแมวขณะเอาลงกะทอว่า นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ จากนั้นจึงเดินขบวนไปรอบ ๆ หมู่บ้านเพื่อให้เจ้าของบ้านทุกบ้านสาดน้ำให้แมวร้อง เพราะเมื่อแมวร้องแล้วฝนจะตกลงมา

        ในขณะเดินแห่นั้นต้องให้ผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวคำเซิ้งไปด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วคำเซิ้งของแต่ละพื้นที่มักไม่ค่อยเหมือนกัน แต่สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่าต้องการขอให้ฝนตกนั่นเอง

                   แหล่งที่มารูปภาพ : https://www.google.com/urlsa=i&url=https%3A%2F%2F

 


                           พิธีกรรม แห่นางแมวขอฝน แล้งหนักรอบ 20 ปี | 22-07-62 | ตะลอนข่าว

แหล่งที่มาข้อมูล : https://www.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=810&filename=index

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

     ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System)


วันที่ 7 ตุลาคม 2564

          1. สมาชิกในกลุ่มได้มีนัดทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet  โดยในครั้งนี้พูดคุยในรูปแบบของเล่มรายงานทั้งหมด เก็บรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ดังนี้   ปกนอก ปกใน  บทคัดย่อ Abstract กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 วิธีการศึกษา บทที่ 4 ผลการศึกษา บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก และแผนการจัดการเรียนรู้

           โดยในครั้งนี้มีการจัดทำรูปเล่มรายงาน ซึ่งในครั้งนี้จะเรียบเรียงให้ความสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อเกิดการทำงานรวดเร็วและอย่างระเบียบเรียบร้อย อีกยังทั้งเกิดการทำงานกันเป็นทีม และสรุปประเด็นสำคัญลงในเว็บบล็อกขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานครั้งนี้




วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System)

วันที่ 30 กันยายน 2564

          สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม ทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  โดยในครั้งนี้มีการจัดทำแบบทดสอบแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  และแบบทดสอบหลังเรียน (Pretest)  ให้ความสมบูรณ์มากขึ้น และสุดท้ายได้มีการพูดคุยบทที่ สรุป และข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก โดยการแบ่งหน้าที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งในการแบ่งคนละ หัวข้อ เพื่อเกิดการทำงานรวดเร็วและอย่างระเบียบ




ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

                                                                  ผลการเรียนรู้ครั้งที่  14

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System)

วันที่ 23 กันยายน 2564

          มาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม และทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/ และแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคน ได้มีการเพิ่มข้อมูลเพิมเติมลงระบบได้อย่างอิสระที่ตัวเองเลือกในหัวข้อตัวเอง โดยแบ่งคนละ 1 หัวข้อ ซึ่งในการเพิ่มเนื้อหาของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มกิจกรรมหรือแหล่งข้อมูลสามารถ ทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารประกอบการสอน คลิปวีดีโอการสอนเพิ่มเติมในกาเรียนต่าง ๆ รวมทั้งการเพิ่มกิจกรรมประเมินผล เช่น  ใบงานและแบบทดสอบก่อน - หลังเรียน

          3. หลังจากสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  เสร็จสมบูรณ์ ก็จัดทำในรูปเล่มเอกสาร รายงานการศึกษาโครงงาน เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2



วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  13

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System)


16 กันยายน 2564    

กิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้

1. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 09.30 น.

2. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ โครงงานบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องและ บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา

  ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่ม นำเสนอตามลำดับ ดังนี้


โดยแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้

    กลุ่มที่ 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

    กลุ่มที่ 5 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

    กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

    กลุ่มที่ 1 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

    กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  12

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System) 

9 กันยายน 2564 


        สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม นัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งแบ่งให้คนละ 1 หัวข้อ แต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการสอน พาเวอร์พอยต์ หรือคลิปวีดีโอการสอนต่าง ๆ อีกทั้งการเพิ่มกิจกรรมและการประเมินผล ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และการมอบหมายงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด


        สุดท้ายทุกคนร่วมกันทำพาเวอร์พอยต์เพื่อจะนำเสนอในส่วนของบทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  11

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System) 

2 กันยายน 2564 


        สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมนัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อทำโครงงานต่อในส่วนบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

ซึ่งหัวข้อในบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

        1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน

1.1 ความหมายของการเรียนการสอน

1.2 ความหมายของการจัดการเรียนรู้

1.3 ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน

2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ออนไลน์ 

2.1 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์

2.2 นวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์และตัวอย่าง

3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบอีเลิร์นนิง

3.1 นิยามระบบอีเลิร์นนิง

3.2 รูปแบบอีเลิร์นนิ่ง

3.3 องค์ประกอบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

3.4 ข้อดีและข้อจํากัดของการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

4.  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

4.1 การออกแบบการเรียนการสอน

4.2 การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model

5. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการแนวคิดเชิงคำนวณ                      5                5.1 แนวคิดเชิงคำนวณ



บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา มีหัวข้อดังต่อไปนี้           

                    1. การวิเคราะห์ (Analysis) 

                    2. การออกแบบ (Design) 

                    3. การพัฒนา (Development) 

                    4. การนําไปใช้ (Implementation) 

                    5. การประเมินผล (Evaluation) 



และมีการแบ่งหน้าเพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบ SMP.YRU

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  10

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System) 

26 สิงหาคม 2564

1. ก่อนเข้าชั้นเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนเตรียมข้อสอบแบบตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ และข้อสอบแบบ ถูก-ผิด จำนวน 5 ข้อ เพื่อทดลองการสร้างข้อสอบในการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง 


2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 9.30 น.


3. อาจารย์เริ่มสอนปฏิบัติโดยการสาธิตในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานและรู้จักเครื่องมือการใช้สำหรับการทำบทเรียนออนไลน์ ในเว็บไซต์ข้างต้น

        การเพิ่มกิจกรรมและแหล่งข้อมูล                                                                                                     การเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละบทเรียน เช่น กระดานเสวนา ใช้ สำหรับกิจกรรมอภิปราย ถาม-ตอบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกรูปแบบเนื้อหาที่จะใช้ในการเรียนรู้แต่ ละบท เช่น แหล่งข้อมูลเป็นลิงก์เว็บไซต์ Book เป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Page เป็นการสร้างหน้าเอกสาร ลักษณะเว็บเพจ  

         การสร้างกิจกรรมแบบทดสอบ                                                                                                         การประเมินผลในบทเรียนด้วย แบบทดสอบ เพิ่มเป็นกิจกรรม “แบบทดสอบ” ซึ่งมีรูปแบบของ ข้อสอบ เช่น แบบหลายตัวเลือก แบบถูกผิด แบบจับคู่

         กำหนดรายละเอียดของ แบบทดสอบ และบันทึก จากนั้นขั้นตอนต่อไป จะเป็นการสร้างข้อคำถามและคำตอบ โดยต้องสร้างผ่านคลังข้อสอบ หรือ Question Bank

             การสอนโดยการสาธิตการพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ ในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงของกลุ่มตัวเองให้เสร็จสมบูรณ์ 

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 9

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  9

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Onlile Lermimg Management System) 

19 สิงหาคม 2564

1. ก่อนเข้าเรียนให้ทบทวนเนื้อหา บทที่ 4 และให้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบถ้วน จากนั้นมีแบบทดสอบความรู้บทที่ 4 โดยการเล่น Kahoot 


2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 9.00 น.

3. อาจารย์เริ่มสอนปฏิบัติโดยการสาธิตในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานและรู้จักเครื่องมือการใช้สำหรับการทำบทเรียนออนไลน์ ในเว็บไซต์ข้างต้น



การสร้างส่วนนำของวิชา
          เลือกรายวิชา ของกลุ่มตัวเอง (เทคโนโลยี มัธยมศึกษาปีที่ 2 ) และเลือก เริ่มการแก้ไขในหน้านี้ เพื่อจัดการตั้งค่า เนื้อหา และ กิจกรรมของรายวิชา
              เลือกการกำหนดค่าเริ่มต้นของ รายวิชา หรือการตั้งค่า เพื่อ ดำเนินการพัฒนาบทเรียนและ จัดการเรียนรู้

การเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้และเนื้อหาหรือแหล่งข้อมูล สนับสนุนการเรียนรู้ โดยการกดปุ่มเพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้หรือแหล่งข้อมูล

        หน้าต่างการเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละบทเรียน เช่น กระดานเสวนา ใช้ สำหรับกิจกรรมอภิปราย ถาม-ตอบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกรูปแบบเนื้อหาที่จะใช้ในการเรียนรู้แต่ ละบท เช่น แหล่งข้อมูลเป็นลิงก์เว็บไซต์ Book เป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Page เป็นการสร้างหน้าเอกสาร ลักษณะเว็บเพจ  

        การสอนโดยการสาธิตการพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ ในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงของกลุ่มตัวเองให้เสร็จสมบูรณ์